Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • มุมภาษี – การรื้อถอนทำลายอาคารโรงงาน

มุมภาษี – การรื้อถอนทำลายอาคารโรงงาน

ต่อมาทางฝ่ายบริหารมีความประสงค์ที่จะปรับปรุงสถานที่ใหม่ เพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยสะดวกมากขึ้น จึงต้องการรื้อถอนอาคารออก 1 หลัง แต่อาคารดังกล่าวยังมีการคิดค่าเสื่อมราคาทุกปี และอายุการใช้งานยังไม่สิ้นสุด ไม่ทราบว่าหากมีการรื้อถอนเกิดขึ้น ในทางบัญชีจะต้องทำ และบันทึกอย่างไรคะคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม มีอาคารในบริเวณพื้นที่โรงงาน อยู่ 2 อาคาร โดยที่ไม่ได้สร้างติดกัน และมีมูลค่าอยู่ในทะเบียนทรัพย์สินของกิจการ ต่อมาทางฝ่ายบริหารมีความประสงค์ที่จะปรับปรุงสถานที่ใหม่ เพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยสะดวกมากขึ้น จึงต้องการรื้อถอนอาคารออก 1 หลัง แต่อาคารดังกล่าวยังมีมูลค่าตามบัญชี และคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทุกปี เนื่องจากอายุการใช้งานยังไม่สิ้นสุด นั้น

1. ในทางบัญชี บริษัทฯ ต้องตัดรายการทรัพย์สินรายการนั้น ออกจากทะเบียนทรัพย์สินทันที เพื่อนำไปถือเป็นรายจ่ายทางบัญชี และให้คำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์รายการดังกล่าว ถึงเพียง ณ วันก่อนวันที่บริษัทฯ ลงมือรื้อถอนทำลาย เท่านั้น

2. บริษัทฯ ต้องจัดเตรียมหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่ามีการทำลายทรัพย์สินดังกล่าวจริง อาทิ มติที่ประชุมกรรมการ รวมทั้งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น (หากจำเป็น) ที่อนุมัติให้ทำลาย และมีผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ รับรองการกระทำดังกล่าว ภาพถ่าย รวมทั้งอาจต้องแจ้งความลงบันทึกประจำวัน ณ สถานีตำรวจไว้เป็นหลักฐานด้วย มูลค่าต้นทุนอาคารส่วนที่เหลือ ย่อมนำมาถือเป็นผลเสียหายจากการประกอบกิจการโดยตรงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงมีสิทธินำมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลืออยู่ดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

บริษัทฯ พึงต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรทราบล่วงหน้าก่อนการทำลายไม่น้อยกว่า 30 วันตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 79/2541 ฯ ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541.